Skip to content

Sinus (ไซนัส) รักษาหายได้ไม่ยากอย่างที่คิด

หน้าแรก  >  บทความเกี่ยวกับสุขภาพ

ไซนัส คือ ช่องว่างหรือโพรงอากาศที่อยุ่ภายในกะโหลกศีรษะบริเวณใบหน้า มีด้วยกัน 4 คู่ คือ บริเวณโหนกแก้มข้างจมูก บริเวณหัวคิ้วระหว่างลูกตา บริเวณหน้าผากและส่วนกลางกะโหลกศีรษะ แม้โพรงอากศนี้จะเป็นทีว่างเปล่าแต่ถูกบุด้วยเยื่อเมือกบางๆ ชนิดเดียวกับเยื่อบุโพรงจมูก

โดยทั่วไปโพรงอากาศไซนัสจะมีรูขนาดเล็กช่วยให้อากาศภายในสามารถไหลเวียนได้ หากมีการอุดตันเพราะการบวมของเยื่อบุจากหวัดหรือภูมิแพ้ จะทำให้เกิดการคั่งค้างของน้ำมูกภายในโพรงจมูก และมีสภาวะที่เหมาะแก่การเติบโตของเชื้อโรคจนเกิดการอักเสบขึ้นเป็นหนองในโพรงไซนัส หรืออาจเกิดจากการอักเสบของรากฟันบน แล้วลุกลามไปในไซนัสก็ได้

อาการอักเสบของไซนัสมักเริ่มจากอาการของโรคหวัดหรือภูมิแพ้ ได้แก่ มีน้ำมูก คัดจมูก ไอ นอกจากนี้อาการที่บ่งชี้ที่ตามมาก็คือ การปวดศีรษะ ปวดบริเวณโพรงอากาศที่อักเสบ บางครั้งมีอาการมึนศีรษะร่วมกับอาการปวด คัดจมูกหรือแน่นจมูกโดยมีอาการตลอดเวลาแม้จะทานยาแล้วก็ตาม มีน้ำมูกและเสมหะสีเหลืองหรือเขียว บางครั้งน้ำมูกไหลออกมาเองโดยไม่รู้ตัว บางรายมีอาการมากถึงมีกลิ่นเหม็นในจมูกซึ่งสามารถรู้ได้ด้วยตนเอง มีไข้ หรือไข้สูงจนหนาวสั่น ไอเรื้องรัง และมีเสมหะ สำหรับผู้ป่วยเด็กอาจมีอาการร่วมกับหูอักเสบเรื้อรังได้ อาการปวดไซนัสจะเป็นมากขึ้นเวลาเช้าหลังตื่นนอน เนื่องจากขณะนอนหลับจะเกิดการคั่งค้างของหนองภายในโพรงไซนัส และมีการคั่งของหลอดเลือดจากภาวะการนอนทำให้การถ่ายเทอากาศในโพรงไซนัสไม่ดีจนเกิดการสะสมของของเหลวจำนวนมาก

การตรวจวินิจฉัยอาการไซนัสอักเสบจะแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ การตรวจโดยใช้เครื่องมือสำหรับ หู คอ จมูก ซึ่งมักพบหนองในบริเวณดังกล่าว การตรวจโดยใช้กล้องส่องในจมูกซึ่งสามารถบอกถึงตำแหน่งที่เกิดการอักเสบหรือสาเหตุการอุดตันได้ และการถ่ายภาพทางรังสี

หลังจากได้รับการตรวจวินิจฉัยแล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ป่วยจะต้องได้รับการรักษาทันที สำหรับวิธีการรักษานั้นขึ้นอยู่กับชนิดของโรคและระยะเวลาที่ผู้ป่วยเป็น โดยอาจแบ่งได้เป็นการรักษาทางยา การรักษาด้วยวิธีเจาะล้าง หรือการผ่าตัด

เมื่อผู้ป่วยที่มีอาการน้อยได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง มักจะหายได้ภายใน 2-3 สัปดาห์ แต่หากมีอาการเรื้อรังรวมถึงมีปัจจัยอื่นร่วมจะต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องและปฎิบัติตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจเกิดโรคแทรกซ้อนได้ แม้ผู้ป่วยบางส่วนจะมีอาการเรื้อรังจากภูมิแพ้แต่ก็สามารถดำรงชีวิตอย่างปกติได้ตามสมควร โดยพยายามหลีกเลี่ยงจากมลภาวะ ฝุ่น ควัน และพักผ่อน รวมถึงออกกำลังายอย่างสม่ำเสมอ

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง