Skip to content

เมื่อไหร่ถึงควรพบแพทย์ปรึกษาเรื่องมีบุตรยาก

หน้าแรก  >  บทความเกี่ยวกับสุขภาพ

ภาวะการมีบุตรยาก แม้ว่าจะไม่ใช่โรค แต่ก็เป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดความทุกข์สำหรับคู่สมรสที่หวังอยากมีลูก เพื่อให้เป็นครอบครัวที่สมบูรณ์ ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ได้จัดตั้งขึ้นโดยมุ่งหวังจะช่วยสานความฝันของคู่สมรส เพื่อให้กำเนิดลูกน้อยตามที่ต้องการ ครบครันด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการรักษาผู้มีบุตรยาก ที่จะให้คำปรึกษาและดูแลอย่างครอบคลุม เรามีการตรวจวินิจฉัยอย่างครบวงจร ตั้งแต่การผ่าตัดส่องกล้องหาสาเหตุ การตรวจระดับฮอร์โมน ไปจนถึงการมีห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ที่ทันสมัยในการรักษาคู่สมรสที่มีบุตรยากจากสาเหตุต่างๆ

ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา พร้อมแล้วที่จะให้การรักษาด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์วิธีต่างๆ เช่น

การคัดเชื้อเพื่อฉีดเข้าโพรงมดลูก (Intra – Uterine Insemination : IUI) โดยให้สามีเก็บน้ำเชื้อในวันที่มีการตกไข่ของภรรยา แล้วใช้ทำการตรวจและนำมาผ่านขบวนการคัดแยกเลือกเฉพาะตัวอสุจิที่แข็งแรงสมบูรณ์ เพื่อฉีดเข้าโพรงมดลูกโดยตรง อันเป็นการเพิ่มโอกาสให้เข้าไปผสมกับไข่ฝ่ายหญิงได้ดีขึ้น ทำให้อัตราการตั้งครรภ์สูงขึ้น

กิ๊ฟท์ (Gamete Intrafallopian Transfer : GIFT) คือ ขบวนการกระตุ้นไข่จนได้ขนาดที่เหมาะสม จากนั้นทำการเก็บไข่ และนำไข่ที่เจาะเก็บออกมาได้นั้น พร้อมกับเชื้ออสุจิของสามี ย้ายเข้าสู่ท่อนำไข่เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิภายในร่างกายฝ่ายหญิงคล้ายขบวนการตามธรรมชาติ

เด็กหลอดแก้วหรือ ไอ.วี.เอฟ. (In Vitro Fertilization : IVF) เมื่อผ่านขบวนการกระตุ้นไข่ และได้ทำการเก็บไข่ผ่านทางช่องคลอด นำมาผสมกับเชื้ออสุจิของสามีในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ตัวอ่อน จากนั้นเลี้ยงในตู้เพาะเลี้ยงตัวอ่อนจนแบ่งตัวเป็นระยะ 8 – 16 เซลล์ หรือเลี้ยงจนเป็นระยะ บลาสโตซีสท์ แล้วค่อยย้ายกลับเข้าไปในโพรงมดลูกต่อไป

การฉีดอสุจิเพียงหนึ่งตัวเข้าไปในเซลล์ไข่หรืออิ๊กซี่ (Intracytoplasmic Sperm Injection : ICSI) สำหรับคู่สมรสที่สามีมีเชื้ออสุจิน้อยมากจนไม่สามารถปฏิสนธิได้เอง หรือตรวจไม่พบตัวอสุจิเลยแต่อัณฑะยังมีการผลิตอสุจิอยู่ สามารถใช้ขบวนการช่วยปฏิสนธิ โดยการใช้เข็มแก้วเล็กๆ คัดเลือกและทำการฉีดอสุจิที่แข็งแรงเพียง 1 ตัว (จากการช่วยตัวเองที่มีตัวอสุจิน้อยและไม่แข็งแรงเจาะดูดจากอัณฑะ หรือตัดชิ้นเนื้อจากอัณฑะ) เข้าไปในไข่โดยตรง แล้วจึงทำเลี้ยงต่อให้กลายเป็นตัวอ่อนก่อนทำการย้ายกลับเข้าไปในโพรงมดลูกต่อไป

เมื่อใดควรเริ่มพบแพทย์

คู่สมรสที่แต่งงานนานกว่า 1 ปี โดยไม่ได้คุมกำเนิด และมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ แต่ยังไม่ตั้งครรภ์ ถือว่ามี “ภาวะมีบุตรยาก” ควรไปปรึกษาแพทย์ ซึ่งแพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจอัลตราซาวนด์ เพื่อทำการหาสาเหตุ โดยมักมีสาเหตุใหญ่ๆ 3 ประการ ได้แก่

  • มีปัญหาของการตกไข่
  • ท่อนำไข่อุดตัน หรือมีพังผืดในอุ้งเชิงกราน
  • สามีเชื้ออสุจิอ่อน ไม่มีตัวอสุจิ หรือทำหมันมาแล้วแต่ต้องการมีบุตรอีก

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง