Skip to content

อาการปวดเข่า (knee pain)

หน้าแรก  >  บทความเกี่ยวกับสุขภาพ

เป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถประกอบกิจกรรมต่างๆในชีวิต ประจำวันได้ตามปกติ โดยปกติข้อเข่าต้องรับน้ำหนักตัวเกือบตลอดเวลารวมทั้งอุปนิสัยของคนไทยที่ ใช้เข่าในท่าพับงอ เช่น นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ หรือการนั่งยองๆ จึงเกิดความเสื่อมของกระดูกอ่อนเร็ว
ผู้ ป่วยมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดเข่าเป็นจำนวนมาก และส่วนหนึ่งมาที่ห้องฉุกเฉินส่วนใหญ่อาการปวดเข่าชนิดเฉียบพลัน เกิดขึ้นทันทีทันใดมักเกิดจากการกระทบกระแทก บาดเจ็บ อุบัติเหตุ เช่น เอ็นฉีกขาดกระดูกอ่อนฉีกขาดส่วนในรายที่เกิดอาการปวกเข่าชนิดเรื้อรังมัก เกิดจากโรคข้อเข่าเสื่อมหรืออาจเกิดจากโรคข้ออักเสบอื่นๆ ก็ได้เช่นกัน

ลักษณะโครงสร้างของข้อเข่า

ข้อเข่า ประกอบด้วยส่วนที่เป็นกระดูก 4 ชิ้น ได้แก่ กระดูกต้นขา กระดูกขาสองชิ้น และกระดูกสะบ้า ส่วน ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือกระดูกอ่อนบุผิวข้อ ในเยื่อบุด้านในของข้อทำหน้าที่สร้างน้ำหล่อเลี้ยงข้อ และช่วยหล่อลื่นข้อนอกจากนี้ยังมีกล้ามเนื้อรอบๆข้อ ซึ่งช่วยเสริมความแข็งแรงและช่วยในการเคลื่อนไหวของข้อ ปลอกหุ้มด้านนอกข้อและเอ็นซึ่งเป็นส่วนของปลอกหุ้มข้อที่หนาตัวเพื่อยึดข้อ ให้แข็งแรงส่วนของข้อเข่ายังมีเส้นเลือดและเส้นประสาทมาเลี้ยงบริเวณนี้ด้วย ข้อเข่าจะเคลื่อนไหวในแนวเดียว คืองอเข่า และเหยียดเข่าเท่านั้น ส่วนแนวอื่นสามารถขยับได้เล็กน้อย ไม่เหมือนข้ออื่นๆ ที่ต้องมีการหมุนตัว เช่น หัวไหล่ และ สะโพก การทำงานก็จะมีกล้ามเนื้อและเอ็นพังผืดอีกมากมาเกี่ยวข้องด้วยกระดูกอ่อน ที่รับน้ำหนักหรือรับการเคลื่อนไหวก็มีการซ่อมแซมตัวเองอยู่ตลอดเวลาถ้าฝึก กล้ามเนื้อและเอ็นพังผืดที่เกี่ยวข้องให้แข็งแรงและระมัดระวังไม่ให้ข้อเข่า ต้องรับน้ำหนักมากๆหรือมีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติไปจากเดิมมากๆก็จะสามารถลด การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับข้อเข่าได้

อาการปวดเข่าที่เกิดจากการบาดเจ็บ

พบได้หลายรูปแบบ นัก กีฬาหลายประเภทมักจะมีปัญหาบาดเจ็บที่ข้อเข่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งนัก
ฟุตบอลระ ดับซุปเปอร์สตาร์ทั้งหลายอย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่าในกรณีเส้นเอ็น ด้านข้างฉีกขาดส่วนใหญ่มักเกิดจากการกระทบกระแทกจากการแข่งกีฬาฟุตบอล บาสเก็ตบอลและจากการแข่งสกีเช่นเดียวกับกรณีการบาดเจ็บของเอ็นทางด้าน หน้าที่มักเกิดขึ้นจากการสะดุดล้มจังหวะที่เปลี่ยนความเร็วกระทันหัน ส่วนเอ็นทางด้านหลังแตกต่างกันออกไปเนื่องจากค่อนข้างแข็งแรงกว่าทางด้านหน้า การฉีกขาดอาจเกิดจากอุบัติเหตุได้เช่นกัน

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง