Skip to content

อาการหัวใจวาย หรือกล้ามเนื้อหัวใจวายเฉียบพลัน

อาการหัวใจวาย

อาการหัวใจวาย

“ในแต่ละปีมีผู้คนมากมายที่มีอาการหัวใจวาย และต้องเสียชีวิตไป แต่ถ้ารู้จักอาการหัวใจวายและวิธีการช่วยเหลือ ก็จะไม่เสียชีวิตเสมอไป”

ความหมาย

“หัวใจวาย” หมายถึง หลอดเลือดหัวใจอุดตันโดยสิ้นเชิง กล้ามเนื้อหัวใจเริ่มตายไป อาการอาจเป็นอยู่นานกว่า 15 นาที และไม่ทุเลาโดยการพักหรือการได้รับยา เมื่อเกิดอาการเจ็บเค้นหัวใจอย่ารอนานหลายชั่วโมงกว่าจะขอความช่วยเหลือ เพราะเซลกล้ามเนื้อหัวใจที่ขาดเลือดมาเลี้ยงนั้นจะเริ่มตายภายในไม่กี่นาทีในชั่วโมงแรกที่เกิดอาการเจ็บเค้นหัวใจ ถือเป็น “ชั่วโมงทอง” ที่ท่านควรรีบแก้ไขในทันที จะช่วยบรรเทาความเสียหายของกล้ามเนื้อหัวใจ และรักาชีวิตของท่านไว้ได้

อ่านบทความเพิ่มเติม 10 อาการเตือนโรคหัวใจและหลอดเลือด

อาการอย่างไรเรียกว่าเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจ

  • เจ็บ แน่น หรือรู้สึกไม่สบายตรงกลางหน้าอก
  • อาการเจ็บหน้าอก ร้าวไปที่คอ แขน หรือขากรรไกร
  • เหงื่อออกจะมีเหงื่อออกอย่างมากจนรู้สึกหนาวบริเวณลำตัวส่วนบน อาจมีอาการวิงเวียน หายใจไม่อิ่ม และคลื่นไส้ร่วมด้วย
  • อาการเหล่านี้อาจเกิดขณะที่ออกกำลังกาย หรือมีอารมณ์เครียดอย่างกะทันหัน
  • อาการเหล่านี้มักจะคงอยู่นานราว 1–10 นาที
  • รู้สึกหายใจไม่ทันขณะที่ออกกำลังกาย อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
  • รู้สึกแน่นอึดอัดท้องอย่างมาก ถ้าออกกำลังกายทันทีภายหลังรับประทานอาหาร

ใครเสี่ยงต่อการเกิดหัวใจวาย

  • ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูงและชอบอาหารมันๆ
  • ผู้ที่สูบบุหรี่จัด
  • ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง
  • ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
  • คนอ้วน และไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย
  • เครียดง่าย และเครียดบ่อย
  • คนในครอบครัวของท่านมีประวัติเป็นโรคหัวใจมาก่อน

ท่านมีสิทธิหัวใจวายหรือไม่ ?

อาการเจ็บเค้นหัวใจ เป็นสัญญาณเตือนว่าหลอดเลือดหัวใจของท่าน เริ่มตีบแคบลง ท่านอาจเกิดหัวใจวายได้ ถ้าลักษณะของอาการเจ็บเค้น เปลี่ยนแปลงไป เช่น เจ็บบ่อยขึ้นหรือเจ็บเค้นหน้าอก แม้ไม่ได้ออกแรงมากเหมือนที่เคย เป็นต้น และยิ่งถ้าท่านมีประวัติเป็นโรคหัวใจมาก่อน หรือมีปัจจัยเสี่ยงด้วยแล้ว โอกาสที่จะเกิดหัวใจวายยิ่งสูงมากขึ้น

หัวใจวาย โอกาสรอด

สิ่งที่ควรทำเมื่อเริ่มมีอาการหัวใจวาย 

  1. เตรียมตัวให้พร้อม เมื่อเกิดหัวใจวายแล้วท่านอาจจะคิดอะไรไม่ออก และท่านก็ไม่ควรเสียเวลาแม้แต่น้อยที่จะมานั่งคิดว่าจะต้องทำอะไรบ้าง การเตรียมพร้อมและบอกให้คนรอบข้างรู้และเข้าใจจะช่วยชีวิตตัวท่านเองได้
  2. บอกคนรอบข้างเมื่อมีอาการ คนรอบข้างของท่านจะได้ให้การดูแลท่าน ตามแผนที่เตรียมไว้ จับเวลาว่าอาการเป้นอยู่นานเพียงใดและถ้ามีไนโตรกลีเซอรีนที่แพทยืเคยจ่ายให้อยู่แล้วก้อมได้เลย
  3. เลือกทางที่เร็วที่สุด ถ้าท่านเจ็บเค้นหน้าอกนานกว่า 15 นาที โทรเรียกรถพยาบาลเร็วที่สุดหรือขอให้ใครขับรถไปส่งท่านที่โรงพยาบาล อย่าพยายามขับรถไปเองเด้ดขาด
  4. ไปโรงพยาบาล ยิ่งท่านไปถึงโรงพยาบาลเร็ว โอกาสที่จะหายเป้นปกติยิ่งมีมากขึ้น แพทยืจะเป้นผู้เลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุดเพื่อบรรเทาอาการของท่านให้หายได้
  5. บอกเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลทันทีว่าท่านมีอาการเจ็บเค้นหน้าอก เจ้าหน้าที่จะรีบตามแพทยืมาทำการดูแลท่าน รวมไปถึงการให้ยาและการรักษาอื่นเพื่อบรรเทาอาการ ถึงแม้ว่าอาการเจ็บเค้นหน้าอกนั้นจะไม่ได้เกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ท่านก้ยังจะได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาเพื่อให้รู้สึกดีเป็นปกติ
  6. ยาละลายลิ่มเลือด แพทย์จะเป็นผู้ตัดสินว่าท่านต้องใช้ยานี้หรือไม่ ยาเหล่านี้มีกลไกการออกฤทธิ์หลายประการ เช่น ตัวยาเองออกฤทธิ์ละลายหรือสลายลิ่มเลือดโดยตรง หรือตัวยาไปกระตุ้นให้ร่างกายสลายลิ่มเลือดให้เร็วมากขึ้นกว่าปกติ การที่ท่านมาถึงโรงพยาบาลเร็วมากขึ้นเพียงใดผลการรักษาจะดีมากขึ้นตามไปด้วย
  7. การพักฟื้นในโรงพยาบาล ขอให้เตรียมใจว่าต้องนอนโรงพยาบาลอย่างน้อย 2 – 3 วัน และคอยเฝ้าระวังและรักาภาวะแทรกซ้อนทั้งหลาย ท่านอาจถูกเจาะเลือด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และอาจต้องทำการทดสอบเดินบนสายพาน เมื่อนำผลการตรวจทั้งหลายมาประมวลเข้าด้วยกัน แพทย์จะเป้นผู้ตัดสินใจว่าจะให้การดูแลรักษาต่อไปอย่างไร โดยทั่วไปมักเป็นการให้ยารับประทานแต่ก้มีบางกรณีที่แพทยือาจแนะนำให้ตรวจหัวใจเพิ่มเติมโดยการฉีดสีเข้าหลอดเลือดหัวใจหรือแนะนำให้ทำบอลลูน หรือทำการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ

การวินิจฉันและรักษาหัวใจวายเฉียบพัน

การตรวจโดยการฉีดสีเข้าหลอดเลือดหัวใจ

แพทย์จะสอดสายยางเล็ก ๆ เข้าไปในหลอดเลือดหัวใจเพื่อตรวจหาว่ามีการตีบหรืออุดตัน เป็นมากเพียงใด

การทำบอลลูน

โดยการสอดสายสวนไปยังหลอดเลือดที่ตีบแล้วขยายบอลลูนที่อยู่ในสายสวน เพื่อขยายส่วนของหลอดเลือดที่ตีบ วิธีนี้มักใช้รักษาแทนการผ่าตัด

การผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ

ผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ คือ การนำเอาหลอดเลือดจากส่วนอื่นของร่างกายมาทำเป็นทางเบี่ยงเพื่อให้เลือดไหลข้ามส่วนที่อุดตันไปได้

การติดตามผลการรักษาเพื่อช่วยให้ท่านดำเนินวิถีชีวิตได้ตามปกติ

แพทย์จะให้คำแนะนำว่าควรปฏิบัติตัวอย่างไร ในขณะที่ท่านพักฟื้นอยู่ที่บ้าน รวมถึงเรื่องอาหาร การออกกำลังกาย การใช้ยาแอสไพริน หรือยาอื่นๆ ซึ่งสามารถป้องกันไม่ให้เกิดอาการซ้ำอีก

กลับสู่ชีวิตที่เป็นสุขอีกครั้ง

การที่ท่านรอดพ้นมาจากภาวะหัวใจวายได้นั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย เริ่มต้นจากตัวท่านที่เรียนรู้อาการและบอกให้สมาชิกในครอบครัวทราบ การรุ้จักเตรียมพร้อมและการดำเนินการตามแผนที่วางไว้อย่างรวดเร็ว เมื่อเกิดอาการเจ็บเค้นหัวใจ แพทยืประจำตัวของท่านและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาจะช่วยให้ท่านมีโอกาสหายและกลับสู่ชีวิตประจำวันได้อีกครั้ง

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หัวใจ โทร.1719

ตรวจสุขภาพหัวใจ

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง